บทความที่เป็นประโยชน์

ไทยส่งออกโตไตรมาสแรก แต่ต้นทุนขนส่งพุ่ง!?

21 มิถุนายน 2564

ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องเรื่องต้นทุนค่าระวางเรือที่สูงขึ้นมากและตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก

แม้ข่าวดีในไตรมาสแรกจากการรายงานในสัปดาห์ก่อนว่าการส่งออกขยายตัวกว่า 4.78% แต่ท้ายที่สุด ก็พบกับอุปสรรคด้านต้นทุน  โดยต้นทุนค่าระวางเรือที่สูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับต้นทุนสินค้าแล้วทำให้ต้นทุนสินค้าโดยรวมสูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าไม่สามารถแบกรับกับต้นทุนที่สูงอย่างต่อเนื่องนี้ได้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้ผู้ส่งออกถูกเลื่อนการส่งมอบสินค้าจากผู้นำเข้าในต่างประเทศออกไป

สรุปวิกฤติต้นทุนที่สูงขึ้น

  1. ค่าระวางเรือปรับขึ้น 100-200% และในบางเส้นทาง สูงขึ้นถึง 300%
  2. ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเรื้อรัง ในขณะเดียวกัน ทางกระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้เรือขนาดใหญ่ 400 เมตร สามารถนำตู้เปล่ามาเทียบท่ายังแหลมฉบังได้แล้วหลายลำ
  3. ต้นทุนกระป๋องเพิ่มขึ้น ในการผลิตอาหารทะเลกระป๋อง จากปัญหาต้นทุนการผลิตสินค้าจากแผ่นเหล็กที่นำมาผลิตเป็นกระป๋อง คิดเป็นต้นทุนสินค้าที่ 40-50% ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำเร็จรูป
  4. การชะลอสต็อกวัตถุดิบบางชนิดในช่วง Covid-19 เมื่อการผลิตเพื่อการส่งออกกลับมาปกติ วัตถุดิบ เช่น ชิปอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ยาง พลาสติก ฝ้าย โพลีเอสเตอร์ จึงเกิดต้นทุนสูงขึ้นจากการขาดแคลน
  5. ขาดแคลนแรงงานเนื่องจากปัญหาการระบาดของโรค Covid-19

ถึงแม้ในภาพรวมของการส่งออกยังคงขยายตัวดี แต่ภาครัฐยังคงต้องเร่งหาแนวทางการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การส่งออกยังไปต่อในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากการส่งออกในขณะนี้เป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในขณะที่กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ Covid-19

 

แหล่งข้อมูล : prachachat.net

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ