บทความที่เป็นประโยชน์

ไทยเร่งเปิดตลาดใหม่ พยุงเป้า 3% หลังจากที่ส่งออกปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัวลง

12 มกราคม 2566

การส่งออกของไทยเริ่มเห็นภาพชะลอตัวลงที่ชัดเจนแล้ว หลังจากมูลค่าการส่งออกใน เดือน ตุลาคม และ พฤศจิกายน พ.ศ. 2565  ที่ผ่านมา  ติดลบ 2 เดือนติดต่อกัน ซึ่งทำให้หลายฝ่ายกังวล และการส่งออกในปี 2566 ที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างชัดเจนส่งผลให้จำเป็นต้องหาแผนรับมือ เพื่อพยุงการส่งออกที่เป็นตัวแปรหลักในการฟื้นเศรษฐกิจไทย

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่า สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ( สรท.) คาดการณ์แนวโน้มภาพรวมการส่งออกไทยในปี 2566 จะขยายตัว 2-3%  โดยประเมินจากการส่งออกปี 2565 ที่การส่งออกเชิงปริมาณไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดูจากจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ขนส่งปี 2565 ใกล้เคียงปี 2564 หากแต่เป็นราคาสินค้าจากวัตถุดิบ และน้ำมันที่ปรับขึ้น และ ผลพวงของค่าเงินบาทอ่อนค่ามากกว่าค่าเงินของคู่แข่งในตลาดต่างประเทศ

ทั้งนี้ ปี 2566 ราคาน้ำมันประเมินต่ำกว่าปี 2565 โดยอยู่ระดับ 75-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และ ค่าเงินบาทจะอยู่ 33-35 บาทต่อดอลลาร์ โดยอาจแข็งค่ากว่าค่าเงินของคู่แข่ง ทำให้ปี 2566 จะได้รับแรงกดดันจากราคาที่มีแนวโน้มลดลงตามราคาน้ำมันและวัตถุดิบ

ดังนั้นสินค้าที่เป็นอาหาร ยังมีศักยภาพต่อเนื่อง ผลจากภาวะการขาดแคลนอาหาร เพราะพื้นที่สงครามในยูเครน ยังไม่สามารถเพาะปลูกได้ และ ยังไม่มีแนวโน้มการเจรจาสันติภาพ  สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอื่นแปรผันตามภาวเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ  ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ปัญหาการขาดแคลนชิปก็เริ่มคลี่คลาย ส่งผลดีต่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจัยที่มีผลการค้าโลกในปี 2566 ประกอบด้วย

  1. การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้การค้าโลกจะเติบโตได้ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ 2.6-2.7%
    ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อสูง ซึ่งส่งผลให้ธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินเข้มงวด แม้ว่าการดำเนินนโยบายจะลดระดับลงมา แต่คาดว่ายังคงดำเนิน นโยบายนี้ต่อในปี 2566
  2. ค่าเงินบาท ที่ผันผวนปรับตัวในทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าค่าเงินของคู่แข่ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่างราคาของผู้ประกอบการส่งออกที่อาจหายไป
  3. ต้นทุนที่สูงขึ้น ของผู้ประกอบการส่งออก เช่น ค่าไฟฟ้า(FT)และค่าแรง ที่มากกว่าประเทศอื่นๆที่เป็น
    ผู้ส่งออก
  4. ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน เช่น ราคาสินค้า และ พลังงานที่ยังทรงตัวในระดับสูงจากผลกระทบทางตรง และ ทางอ้อม จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังยืดเยื้อ
  5. สถานการณ์การขาดแคลนชิป เริ่มคลี่คลายในช่วงไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปี 2565

อย่างไรก็ตาม (สรท.) มองว่า ปี 2566 สินค้าส่งออกมีทั้งที่เป็นโอกาส และ สินค้าที่ต้องออกแรงมากขึ้น    

สินค้าที่มีโอกาสในปี 2566 อาทิ เช่น

  • สินค้ากลุ่มอาหาร
  • น้ำตาล
  • อัญมณี
  • เครื่องประดับ
  • ยานยนต์ และ ส่วนประกอบ

สินค้าที่ต้องออกแรงมากขึ้นในปี 2566  อาทิ เช่น

  1. ยางพารา อันเนื่องมาจากการดำเนินมาตรการ Zero Covid ของจีนทำให้ล็อคดาวน์หลายพื้นที่ ส่งผลให้ยางรถยนต์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพาราได้รับผลกระทบของยอดคำสั่งซื้อที่ชะลอตัว จากมาตรการ
    ดังกล่าวยังอาจดำเนินการต่อไปจนถึงไตรมาส 1 ปี 2566
  2. เม็ดพลาสติก และ เคมีภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าวัตถุดิบที่ส่งออกให้จีนเป็นหลักทำให้ได้รับผลกระทบจากมาตรการ Zero Covid ของจีน และ การดำเนินนโยบายของจีน Dual Circulation ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตในประเทศลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศมากขึ้น ประกอบการจีนได้มีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมด้านเคมีขนาดใหญ่ในพื้นที่การผลิตทำให้การส่งออกสินค้า และ สินค้าต่อเนื่องในกลุ่มดังกล่าวอาจต้องออกแรงมากขึ้นหรืออาจต้องลองมองหาตลาดใหม่ในปีหน้า
  3. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เริ่มชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 และ ต่อเนื่องถึงต้นปี 2566
    ผลจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐ และ  สหภาพยุโรป เริ่มชะลอตัว และ มีโอกาสหดตัวสูงจาก
    ผลกระทบอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูงกระทบกำลังซื้อผู้บริโภค

ขณะเดียวกันกลุ่มสินค้าดังกล่าวยังคงมีโอกาสขยายการส่งออก แต่ต้องออกแรง และ โฟกัส ตลาดศักยภาพ   ลำดับรองที่เริ่มขยายตัว และ ฟื้นตัวจากโควิด อาทิ ตะวันออกกลาง

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องเร่งทำ คือ การรุกตลาดใหม่ และ รักษาตลาดเดิม โดยต้องเร่งเปิดตลาดกลุ่มประเทศเกิดใหม่
ทั้งเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง อาเซียน CLMV โดยเฉพาะตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย หลังจากฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน

นอกจากนี้ต้องสร้างการรับรู้ของสินค้า สร้างความสัมพันธ์ทางการค้าเชิงลึกกับประเทศคู่ค้าใหม่ ปรับแต่ง สินค้าให้สอดคล้องประเทศปลายทางมากขึ้น และ ต้องผลักดันการส่งออก

สรุปการส่งออกไทยต้องมีการปรับตัว “2 เพิ่ม 2 ลด”  คือ เพิ่มช่องทางตลาดใหม่ และ เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ลดต้นทุนสินค้า และ ลดสินค้าคงคลัง เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆและเตรียมปรับตัวในปีที่ท้าทาย 2566” นายชัยชาญ เจริญสุข กล่าว

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แผนการส่งออกปี 2566 ตั้งเป้าบุกตลาดที่มีศักยภาพเพิ่มยอดการส่งออกจากมาตรการปกติที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเป็นกรณีเฉพาะ บุก 3 ตลาดใหญ่ ที่มีศักยภาพประกอบด้วย

  • ตลาดตะวันออกกลาง
  • ตลาดเอเชียใต้
  • ตลาด CLMV

โดย 3 ตลาดใหญ่ปี 2565 คาดมียอดการส่งออกรวม 1.7 ล้านล้านบาท และปี 2566 จะเพิ่มเป็น 2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย

1.ตลาดตะวันออกกลาง มุ่ง 3 ตลาดใหญ่ คือ

   - ซาอุดิอาระเบีย

   - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

   - กาตาร์

สินค้าเป้าหมายสำคัญ คือ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ และ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น 
โดยตั้งเป้าปี 2566 เพิ่มตัวเลขส่งออก 3 ประเทศนี้ 20% จาก 8,900 ล้านดอลลาร์ในปี 2565
เป็น 10,300 ล้านดอลลาร์ในปี 2566

 2. ตลาดเอเชียใต้ เน้นประเทศสำคัญ 3 ประเทศ คือ

   - อินเดีย

   - บังกลาเทศ

   - เนปาล

โดยตั้งเป้าส่งออกปี 2566 ใน 3 ประเทศนี้ ตลาดเอเชียใต้ เพิ่ม 10% เพิ่มจากปี 2565 อยู่ที่ 12,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มเป็น 13,200 ล้านดอลลาร์ ในปี 2566 โดยจะเน้นสินค้าสำคัญ เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยานยนต์
และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

3. ตลาด CLMV ประกอบด้วย

  - กัมพูชา

  - ลาว

  - เมียนมา

  - เวียดนาม

ตั้งเป้าส่งออกเพิ่ม 10-15% จาก 28,000 ล้านดอลลาร์ใน 2565 เป็น 33,500 ล้านดอลลาร์ในปี2566 สินค้า
เป้าหมายสำคัญ เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดพลาสติก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม
 

ที่มาแหล่งข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ

-------------------------- 

https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1045692

ติดต่อสอบถามบริการ BTL 

02-681-2005ถึง9 

www.bkkterminal.com 

m.me/BangkokTerminalLogistics 

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ