บทความที่เป็นประโยชน์

การส่งออกทูน่ากระป๋องและทูน่า แปรรูป ในปี 2565 ที่ผ่านมา อัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

2 กุมภาพันธ์ 2566

การส่งออกทูน่ากระป๋องและทูน่าแปรรูป เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมามี
ปริมาณทั้งสิ้น 454,852 ตัน คิด เป็นมูลค่า 2,014.46 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (69,827.76 ล้านบาท)

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ผ่านมา มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.59

ตลาดหลัก

  • สหรัฐอเมริกา
  • ออสเตรเลีย
  • ญี่ปุ่น
  •  อียิปต์
  • ลิเบีย

รวมกันคิดเป็นสัดส่วน (ร้อยละ 56.06)
 

ตลาดอื่นที่มีอัตราการขยายตัวสูง

  • ลิเบีย (ร้อยละ 109.87)
  • คูเวต (ร้อยละ 81.64)
  • อิสราเอล (ร้อยละ 69.77)

 

จุดแข็งของไทย

1. มีความพร้อมด้านทักษะฝีมือ และ เทคโนโลยีการผลิตที่ครบวงจร ได้มาตรฐานสากล        

สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ในการรับซื้อปลาทูน่าจากทั่วโลก

3. ผู้ประกอบการมีเครือข่ายครอบคลุม ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงช่องทางการกระจายสินค้าในตลาดสำคัญ

 

ปัญหาและอุปสรรค

 1. ขาดแคลนแรงงาน

2. มาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านแรงงาน มาตรการด้านภาษี ฯลฯ และประเทศคู่ค้าสำคัญให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ประเทศคู่แข่งมากกว่าไทย

3. การออกเอกสารรับรองเกี่ยวกับการส่งออกใช้เวลานาน ทำให้การส่งออกล่าช้า

 4. การนำเสนอข่าวเชิงลบส่งผลต่อภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นในสินค้าประมงจากไทย

5. กระแสนิยมบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพทำให้มีการบริโภคอาหารกระป๋องและแปรรูปลดลง

6. การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัส COVID-19 ทำให้มีการชะลอการสั่งซื้อ และชะลอการส่งมอบสินค้า

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมระบบการตรวจสอบคุณภาพ และ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมแปรรูป สัตว์น้ำเบื้องต้นเพื่อให้มีคุณภาพสุขอนามัย ตามมาตรฐานสากล

2. ดำเนินงานตามข้อกำหนดของลูกค้าและตลาดเป้าหมาย อย่างเคร่งครัด

3. ขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP)

4. เร่งพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ และสนับสนุนให้ใช้ วัตถุดิบที่มีเอกสารรับรองการจับสัตว์น้ำ 
และมาจากแหล่งที่ไม่มีปัญหาการทำประมง IUU

5. ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อขยายตลาด รวมถึงการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้
ในอุตสาหกรรมแปรรูปทูน่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

6. ขยายสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และขยายฐานการผลิตไปยังตลาดหลัก เพื่อประโยชน์ทางด้านต้นทุนทางภาษีและโลจิสติกส์ รวมถึงลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

7. เจรจาแก้ไข และลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษี และมิใช่ ภาษีในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี

8. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้า
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของไทย ที่เป็นรูปธรรม

 

การส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง

ปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง คือ ปลาทูน่า (ตระกูลทูนนัส) หรือปลาสคิปแจ็ก (ปลาโอท้องแถบ) หรือปลาโบนิโต
(ชนิดซาร์ดา) ทั้งตัวหรือเป็นชิ้น โดยไม่บด ที่บรรจุในกระป๋องอากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1604.14.11 และ 1604.14.19

ขั้นตอนการดำเนินการส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง

1. ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศตามข้อตกลงทางการค้า และขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

2. ลงทะเบียนขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า เพื่อใช้ยื่น และรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เช่น Form D, Form E, Form JTEPA, Form C/O ทั่วไป ฯลฯ ตามที่ผู้นำเข้าต้องการ ที่สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศสนามบินน้ำ นนทบุรี โดยลงทะเบียนขอ User Name กลาง ได้ที่ www.dft.go.th

3. ผู้ส่งออกตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดสินค้า (ตรวจต้นทุนการผลิต) เพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร

4. ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้นำเข้า และ ขอใบอนุญาต /ใบรับรองจากหน่วยงานที่ควบคุมหรือที่เกี่ยวข้องตามที่ประเทศผู้นำเข้าต้องการ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง

กรมการค้าต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์กำหนดให้ปลาทูน่าบรรจุกระป๋องเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2557

ระเบียบและหลักเกณฑ์

1. กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป หรือสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย

2. ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่นำปลาทูน่าบรรจุกระป๋องติดตัวออกไป หรือนำออกไปพร้อมยานพาหนะ เพื่อใช้ในการบริโภคในยานพาหนะนั้น หรือกรณีนำออกไปเพื่อเป็นตัวอย่างหรือการศึกษาวิจัย ทั้งนี้สามารถนำออกไปได้ในปริมาณเท่าที่จำเป็น

 

กรมศุลกากร

1.ลงทะเบียนเป็นผู้พิธีการศุลการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless)

2.ส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร (e-Export)

3.ตรวจสอบและขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรจากกรมศุลกากร เช่น การขอคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากร,

ขอคืนอากรตามมาตรา 19ทวิ, คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน   
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในเขตประกอบการเสรี หรือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

 

กรมประมง

1.ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ Fisheries Single Window (FSW) โดยยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจประมงหรือกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต (กรมประมง เกษตรกลาง) ได้รับชื่อผู้ใช้รหัสลับ

2.ขอใบอนุญาตผ่านระบบ FSW

3.แจ้งตรวจสินค้าผ่านระบบ FSW เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสินค้าก่อนการส่งออก

 

สถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรม

ขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ทั่วไป) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ขอหนังสือรับรองผลิตภัณฑ์ (Certificate of Free Sale) จากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล และ ขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อการส่งออก

 

ที่มาแหล่งข้อมูล : DITP กระทรวงพาณิช

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/952251/952251.pdf&title=952251&cate=755&d=0 

--------------------------

ติดต่อสอบถามบริการ BTL 

02-681-2005ถึง9 

www.bkkterminal.com 

m.me/BangkokTerminalLogistics 

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ