บทความที่เป็นประโยชน์

ส่งออกไทย ม.ค. 2566 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4

24 มีนาคม 2566

วันที่ 2 มีนาคม 2566 นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขส่งออกของไทย ประจําเดือนมกราคม 2566 พบว่ามีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญ สหรัฐ หดตัว 4.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคํา และยุทธปัจจัย หดตัว 3.0% การส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยตลาดส่งออกของไทยหลายตลาดกลับมาขยายตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป ลาตินอเมริกา อินเดีย แอฟริกา และอาเซียน (5) ท่ามกลางผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของค่าเงินบาท ขณะที่การนําเข้า มีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.5% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 2.7%

เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน

แต่ยังมีสินค้าสําคัญที่ขยายตัวดี  ได้แก่

  • ข้าว ขยายตัว 72.3% ขยายตัวในรอบ 3 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐ อิรัก และแอฟริกาใต้)
  • ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัว 124.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยา เวียดนาม และเนเธอร์แลนด์)
  • ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัว 50.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเมียนมา)
  • ผลไม้สด ขยายตัว 2.5% โดยขยายตัวจากทุเรียนสด ขยายตัว 53.3% ขยายตัว ต่อเนื่อง 3 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร)

สินค้าที่การส่งออกหดตัว ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์มันสําปะหลังหดตัว 7.6% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
    (หดตัว ในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐ และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้)
  • ยางพารา หดตัว 37.6% หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน
    (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐ แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย และปากีสถาน)
  • อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัว 4.8%
    (หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา และอียิปต์ แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ ชิลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
  • น้ำตาลทราย หดตัว 2.3% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
    (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย จีน ฮ่องกง เมียนมา และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น และไต้หวัน)

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.4%  

เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน

แต่ยังมีสินค้าสําคัญ ที่ขยายตัวดี ได้แก่

  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 9.2% กลับมาขยายตัวอีกครั้ง
    (ขยายตัว ในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเวียดนาม)
  • อุปกรณ์กึ่งตัวนํา ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 72.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ เวียดนาม อินเดีย จีน และจอร์แดน)
  • รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 16.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน
    (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เบลเยียม สหรัฐ จีน และเนเธอร์แลนด์)

สินค้าที่การส่งออกหดตัว ได้แก่

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว 21.2% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
    (หดตัวในตลาดสหรัฐ จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย เม็กซิโก อินเดีย และไต้หวัน)
  • ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว 8.2% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
    (หดตัวในตลาด สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และซาอุดีอาระเบีย)

อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคํา) หดตัว 3.8% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน
(หดตัว ในตลาดฮ่องกง เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐ อิตาลี เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น)

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ดําเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอํานวยความสะดวก การส่งออก โดยการดําเนินงานที่สําคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา เพื่อการส่งเสริมการส่งออก อาทิเช่น

- การปราบปรามการลักลอบนําเข้าน้ํามันปาล์ม ทางบก โดยยังสามารถนําเข้าได้ทางเรือ และส่งไปต่างประเทศได้เฉพาะบางด่านเท่านั้น เพื่อลดปัญหาราคาสินค้าปาล์ม น้ํามันภายในประเทศตกต่ำจากการลักลอบนําเข้าอย่างผิดกฎหมาย ทําให้การลักลอบนําเข้าลดลง และราคาปาล์มดีขึ้น

- การรื้อฟื้นการเจรจาการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป โดยมีเป้าหมายการลดภาษีระหว่างกันเหลือ 0% ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องให้เร่งดําเนินการอนุมัติกระบวนการและขั้นตอนการเจรจาให้เร็วที่สุด หลังจากที่การเจรจาหยุดชะงักไป ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งจะทําให้ไทยส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้มากขึ้น และมีแต้มต่อมากขึ้นขึ้นเมื่อเทียบ กับคู่แข่งอื่น

- การสนับสนุนสินค้าท้องถิ่นสู่ตลาดโลก มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก กําหนด เป้าหมายผลักดันสินค้าท้องถิ่น ภายใต้แนวทาง Local + (โลคัล พลัส) จํานวน 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ กลุ่ม BCG กลุ่มสินค้าอัตลักษณ์ และกลุ่มสินค้านวัตกรรม โดยจะเข้าไปช่วยเหลือในการให้ความรู้ด้านการผลิต การพัฒนาสินค้า และผลักดันออกสู่ตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิตสินค้า และสร้างรายได้ เข้าประเทศ

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยเดือนมกราคม ที่หดตัวเป็นผลสืบเนื่องมาจากประเทศผู้นำเข้ามีสินค้าคงคลังตั้งแต่ปลายปี 2565 ในหลายกลุ่มสินค้าอย่างเช่น สิ่งทอ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการส่งออกของไทยจะกลับมาขยายแต่ตัวเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาส 2 โดยเห็นจากสินค้ากลุ่มอาหารขยายตัว ปัญหาด้านชิปขาดแคนลดลง ตู้คอนเทนเนอร์ ค่าเฟสก็อยู่ในระดับที่ก่อนจะเกิดผลกระทบของโควิด

 

ที่มาแหล่งข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ

https://www.prachachat.net/economy/news-1218905

ติดต่อสอบถามบริการ BTL

02-681-2005ถึง9

www.bkkterminal.com

m.me/BangkokTerminalLogistics

 

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ