บทความที่เป็นประโยชน์

Green Logistics ที่ผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้าม

6 ตุลาคม 2565

หากพูดถึงการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งย่อมมีการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง, การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น  

               ทั้งนี้ต้นทุนโลจิสติกส์ของทุกภาคส่วนทั้งประเทศ คิดเป็น สัดส่วนต่อ GDP ประมาณที่14% โดยแบ่งเป็นต้นทุนด้านการขนส่ง 7% การเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 6% และการบริหารจัดการ 1% การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics) จึงเป็นขั้นตอนที่ สําคัญอย่างยิ่งขั้นตอนหนึ่งในการประกอบธุรกิจ และเป็นปัจจัย ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ผนวกกับ กระแสแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ที่กําลังได้รับความนิยม

               ซึ่งแนวคิดกรีนโลจิสติกส์ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น การนำหลักเกณฑ์การขับรถอย่างถูกต้องปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมาใช้ฝึกอบรมคนขับรถขนส่งให้ปฏิบัติตาม พบว่าบริษัทสามารถประหยัดน้ำมันได้ 16% ขณะที่การขับรถตามวิธีที่ถูกต้องช่วยลดอุบัติเหตุได้ 27% ช่วยลดต้นทุนภาพรวมในการทำ Ecodriving ได้ 10-20% และสามารถเจรจากับบริษัทประกันภัยขอลดอัตราการจ่ายเบี้ยประกันได้ในราคาถูกลง เป็นต้น

               การบริหารจัดการโลจิสติกส์ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพ กิจกรรมในกระบวนการโลจิสติกส์ ต้ังแต่การรับเข้า การผลิต และการแปรรูป การเก็บรักษาสินค้า การขนส่งสู่แหล่งกระจาย สินค้า และการบริการลูกค้า ประกอบกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อให้เกิดโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน ต้องคํานึงถึง องค์ประกอบด้วย 4 ด้าน

  1. ด้านเศรษฐกิจมองในด้านการเจริญเติบโตขององค์กร ประสิทธิภาพของการทํางาน การจ้างงาน การแข่งขันและ ทางเลือกในการทําธุรกิจ
  2. ด้านสิ่งแวดล้อม คํานึงถึงกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพอากาศ น้ำและเสียง ความเหมาะสมของการใช้ผิวดิน ความหลากหลายของชีวภาพ ของเสียตลอดจนการใช้พลังงานเชื้อเพลิง
  3. ด้านสังคม มองถึงผลกระทบต่อความปลอดภัยสุขอนามัย การเข้าถึงของข้อมูลจริงและความเที่ยงธรรม
  4. ด้านมูลค่าเพิ่ม มองด้านศักยภาพในการบริการ การวิจัย ความต้องการ และรสนิยมของผู้บริโภค

ดังนั้น กรีนโลจิสติกส์ จึงหมายถึงการให้ความสําคัญในเรื่อง สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งในการบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ทุกกิจกรรม แทนที่จะให้ความสําคัญกับประสิทธิภาพ เพียงอย่างเดียว อธิบายง่ายๆ ด้วยประโยคที่ว่า “Logistics is to Reduce Non-Value Added Activities, But Green Logistics is to Reduce Waste and CO2 from Logistics Activities”

ที่มา       www.bangkokbanksme.com 

                [Logistics Contents] Green Logistics กับพลังงานทางเลือก (blockdit.com)

----------------------------

ติดต่อสอบถามบริการ BTL

02-681-2005ถึง9

www.bkkterminal.com

m.me/BangkokTerminalLogistics

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ