บทความที่เป็นประโยชน์

เมื่อ 'การส่งออก' กลายเป็นเสาหลักค้ำยันเศรษฐกิจไทย

4 มิถุนายน 2564

กลายเป็นความหวังเศรษฐกิจไทยไปแล้ว เนื่องจากการส่งออกไตรมาส 1 ของปีนี้มีอัตราการขยายตัวแม้ในท่ามกลางการระบาดของโควิดระลอกใหม่ โดยตัวเลขเดือนเมษายนล่าสุดขยายตัวที่ 13% สูงสุดในรอบ 36 เดือนหรือรอบ 3 ปี (นับตั้งแต่เดือนเม.ย.2561) ส่งผลให้ 4 เดือนแรกปีนี้ มูลค่าส่งออกไทย ขยายตัวที่ 4.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

จากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ

  1. ปัจจัยจากต่างประเทศที่เศรษฐกิจและการค้าโลกฟื้นตัว
  2. ปัจจัยจากการบริหารจัดการส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์ได้มีการวางแผนร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ปรับรูปแบบช่องทางการตลาดในหลายรูปแบบ อาทิ การเจรจาการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างผู้นำเข้า-ส่งออกรวม 120 กิจกรรมในปีนี้ การปรับรูปแบบการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศ ไทยเป็นรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Trade Fair) หรือรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) เพื่อให้เกิดการซื้อขายต่อเนื่อง

สินค้าที่ขยายตัวดี  ได้แก่

  1. สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผักและผลไม้
  2. สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  3. สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง
  4. กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก
  5. สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ)

ตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่

  1. สหรัฐอเมริกา
  2. ญี่ปุ่น
  3. สหภาพยุโรป
  4. จีน
  5. เกาหลีใต้
  6. ไต้หวัน
  7. เอเชียใต้ เช่น อินเดีย
  8. กลุ่มประเทศ CLMV
  9. ออสเตรเลีย
  10. ตะวันออกกลาง
  11. ลาตินอเมริกา
  12. รัสเซีย และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)

แนวโน้มการส่งออกในไตรมาสต่อไป คาดว่าจะเห็นภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้น

 

แหล่งข้อมูล: Thansettakij.com

<< กลับไปหน้าบทความ

บทความอื่นๆ